•  
  •  
 

UNISEARCH (Unisearch Journal)

Publication Date

2018-01-01

Abstract

บ้านโป่งลก (หมู่ที่ 2) และบ้านบางกลอย (หมู่ที่ 1) อยู่ในตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานประมาณ 50 กิโลเมตร บริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านติดอยู่กับแม่นํ้าเพชรบุรีตอนต้น พื้นที่มีความสูงจากระดับนํ้าทะเลปานกลางประมาณ 150 เมตร (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช, 2560) ประชาชนที่อาศัยอยู่ในทั้งสองหมู่บ้านเป็นชาวปกาเกอะญอที่ย้ายลงมาจากบางกลอยบน (หรือกเรียกว่า ใจแผ่นดิน) มีชวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีความเชื่อในเรื่องผีสาง นางไม้ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่า เจ้าเขา และนับถือศาสนาพุทธและคริสต์ แม่น้ำเพชรบุรี เปรียบเสมือนสายธารแห่งชีวิตของคนในพื้นที่บ้านโป่งลึก-บ้านบางกลอย ปัญหาที่สำคัญมากปัญหาหนึ่ง ของชุมชนบ้านโป่งลึก-บ้านบางกลอย คือ การผันน้ำจากแม่นํ้าเพชรบุรีขึ้นมาใช้ในการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตรกรรม เนื่องจากพื่นที่พักอาศัยและพื้นที่ทำกินของชุมชนที่ได้รับสิทธิในการถือครองที่ดินเพื่อการทำกินนั้น (พื่นที่ CN) เป็นพื้นที่ ที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าแม่นํ้าเพชรบุรีมาก นอกจากนั้น การที่ไฟฟ้าและน้ำประปายังเข้าไม่ถึง ทำให้การทำเกษตรกรรม สามารถทำได้เฉพาะในฤดูฝน เท่านั้น ส่งผลใหัรายได้ต่อครัวเรือนอยู่ในระดับต่ำ แต่ละครัวเรือนจึงมีฐานะยากจน จึงมีการเข้าไปทำงานรับจ้างใช้แรงงานในเมืองแทนการทำเกษตรกรรมกันเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามยังคงมี อีกร้อยกว่าหลังคาเรือนที่ยังคงอาศัยอยู่ในหมู่บ้านและส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งมีความจำเป็นต้อง ใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม โดยวิธีการผันน้ำ/ดึงน้ำขึ้นไปใช้ โดยการใช้เครื่องปั๊มนํ้าแบบเครื่องยนต์ที่ต้อง ใช้น้ำมันเข้ามาใช้ในหมู่บ้าน ซึ่งมีทั้งที่เป็นของส่วนรวมและมีเพียงไม่กี่เครื่องที่เป็นของส่วนตัว ในปัจจุบัน การสูบนํ้าเพื่อใช้ในระบบประปาหมู่บ้านมีการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ (solar cell) เป็นหลัก ชึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งนี้ การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อสูบนํ้าจะขึ้นอยู่กับแสงแดดที่มีในแต่ละวัน หากวันใดเเสงแดดน้อยหรือไม่มีแสงแดดจะไม่สามารถสูบน้ำได้ นอกจากนั้น ปั๊มเครื่องสูบนํ้าชนิดจุ่มหรือปั๊มซับเมอร์ส (submersible pump) ยังพบว่าเกิดปัญหาบ่อย ๆ ระบบการทำงานในช่วงแรกที่ยังไม่เสถียรนัก ทำให้ไม่สามารถสูบน้ำขึ้นมาได้ในปริมาณที่มากพอกับความต้องการใช้น้ำได้ จึงเกิดผลกระทบกับเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกหลังทำนา ซึ่งไม่สามารกทำการเกษตรได้ตลอดปี อีกทั้ง เชลล์ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพงและยากต่อการช่อมบำรุง ด้วยตนเอง ดังนั้น การใช้กังหันพลังน้ำ จึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับเกษตรกรในพื้นที่

DOI

10.58837/CHULA.UNISEARCH.5.2.3

First Page

13

Last Page

17

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.