•  
  •  
 

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Abstract

การศึกษาอุบัติการของโรคกระดูกอ่อนในสุนัขพันธุ์ใหญ่ ที่มารับบริการตรวจรักษาและ ฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากสุนัขที่ตรวจ 31 ตัว พบเป็นโรคกระดูกอ่อน 21 ตัว (67.7%) ในจำนวนนี้เป็นโรค nutritional secondary hyperparathyroidism (NSH) 18 ตัว (85.7%) และ retained enchondral cartilage core ที่กระดูก ulna 3 ตัว (14.3%) พบมากที่สุดในพันธุ์ร้อตไวเลอร์ 8 ตัว (38.1%) สุนัข ป่วยอายุน้อยกว่า 6 เดือน 15 ตัว (71.4%) ระหว่าง 6-12 เดือน 4 ตัว (19.0%) และมาก กว่า 12 เดือน 2 ตัว (9.5%) เป็นเพศผู้ 15 ตัว (71.4%) และเพศเมีย 6 ตัว (28.6%) การ รักษาโรค NSH ในสุนัข 4 ตัวด้วยสารประกอบแคลเซี่ยมคาร์บอเนต เปรียบเทียบกับการ ใช้สารประกอบที่มีแคลเซี่ยมต่อฟอสฟอรัส อัตราส่วน 4 ต่อ 1 ในสุนัข 3 ตัว พบว่าสาร ประกอบแคลเซี่ยมฟอสฟอรัสไม่สามารถปรับอัตราส่วนแคลเซี่ยมต่อฟอสฟอรัสในซีรั่ม ในขณะที่แคลเซี่ยมคาร์บอเนตสามารถปรับอัตราส่วนของแคลเซี่ยมต่อฟอสฟอรัสในซีรั่ม ให้สูงอย่างเห็นได้ชัดภายหลังรักษา 2 สัปดาห์ ซึ่งแตกต่างจากก่อนการรักษาอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่สัปดาห์ที่ 3 และ 4

DOI

10.56808/2985-1130.1645

First Page

235

Last Page

245

Share

COinS