•  
  •  
 

Journal of Letters

Publication Date

1988-07-01

Abstract

ภาษามาเลย์และศาสนาอิสลามนอกจากจะมีบทบาท และมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อวิถีชีวิตของ ชาวมุสลิม ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ จนถึงปัจจุบันแล้ว ก็ยังได้มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตภายในสังคมมุสลิมใน ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปัจจุบันอีกด้วย อันได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา ซึ่งมีประชากรมุสลิมในปัจจุบัน ประมาณ ๑,๐๖๙,๘๓๗ คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด ๒,๐๕๕,๙๗๓ คน ถึงแม้ความผูกพันอย่างลึกซึ้ง ระหว่างภาษามาเลย์กับศาสนาอิสลามได้ทำให้การดำรงชีวิตของชาวมุสลิมใน ๕ จังหวัดชายแดนดังกล่าวมี ความหลากหลายแตกต่าง ไปจากวิถีชีวิตของสังคมกลุ่มใหญ่ภายในประเทศก็ตาม แต่ก็มิได้เป็นอุปสรรค หรือ ปัญหาร้ายแรงต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองสืบไปแต่อย่างใด จึงกล่าวได้ว่าทั้งภาษามาเลย์และศาสนา อิสลามต่างก็มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศมาโดยตลอด ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ว่าภาษามาเลย์ไม่เพียงแต่ทำหน้า ที่เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเกี่ยวกับชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทต่อการปลูกฝังและการอบรมบ่มนิสัย ให้สมาชิกภายในสังคมได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาบ้านเมืองตามแนวทางอิสลามอีกด้วย

DOI

10.58837/CHULA.JLETTERS.20.2.5

First Page

62

Last Page

80

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.