•  
  •  
 

Journal of Demography

Abstract

เงินออมเป็นสิ่งที่ สำคัญ สำหรับสังคมผู้สูงอายุ หากผู้สูงอายุและครัวเรือนมีเงินออมไม่เพียงพอย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลควบคู่ไปกับสังคมผู้สูงอายุ การศึกษาด้านนี้ในบริบทประเทศไทยที่กำลังเปลี่ยนผ่านยังมีไม่มากนัก การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออมและพฤติกรรมการออม ของครัวเรือนไทยโดยใช้ข้อมูลการ สำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2559 ของ สำนักงานสถิติแห่งชาติมาวิเคราะห์โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณประมาณการด้วยวิธีก าลังสองน้อยที่สุดร่วมกับการประมาณค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐานที่มีความแกร่งของฮูเบอร์ไวท์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภูมิภาคมีผลต่อการออมของครัวเรือน ซึ่งครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร มีการออมสะสมของครัวเรือนมากที่สุดและครัวเรือนในภาคใต้มีการออมสะสมของครัวเรือนน้อยที่สุด ปัจจัยอายุของหัวหน้าครัวเรือน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ค่าใช้จ่ายดิจิทัล การทำบัญชีรายรับรายจ่ายและการคิดวางแผนการออมไว้ สำหรับยามชรามีผลต่อการออมสะสมของครัวเรือนในทิศทางบวก แต่ปัจจัยการชำระหนี้เฉลี่ยต่อเดือนและจำนวนสมาชิกในครัวเรือนส่งผลต่อการออมสะสมของครัวเรือนในทิศทางลบ ครัวเรือนที่มีความคิดในการจัดสรรเงินออมโดยแบ่งส่วนของเงินออมไว้ก่อนที่จะนำไปจับจ่ายใช้สอยจะมีการออมสะสมของครัวเรือนมากกว่าครัวเรือนที่นำเงินที่ได้ไปจับจ่ายใช้สอยก่อนถ้ามีเงินเหลือจึงจะเก็บออมอย่างมีนัยสำคัญดังนั้นรัฐบาลควรส่งเสริมให้ประชาชนมีการตระหนักในการวางแผนทางการเงินโดยปรับการจัดสรรเงินด้วยการออมก่อนจ่ายควบคู่ไปกับการทำบัญชีรายรับรายจ่ายตลอดช่วงชีวิต โดยใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัลที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย

DOI

10.58837/CHULA.JDM.37.1.3

First Page

49

Last Page

68

Share

COinS