•  
  •  
 

Abstract

บทความนี้นำเสนอการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ซึ่งเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูสำหรับนิสิตชั้นปีที่ ๔ ของคณะครุศาสตร์ โดยนิสิตฝึกสอน จะได้รับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเสมือนเป็นอาจารย์ประจําเพื่อให้นิสิตได้รับประสบการณ์เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูในอนาคตอย่างแท้จริง โดยมีอาจารย์ประจำของโรงเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ทำหน้าที่เป็นอาจารย์นิเทศก์ ให้คำปรึกษานิสิตในการฝึกประสบการณ์ของวิชาชีพครู ได้แก่ ๑) การจัด การเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ตามสาขาวิชาเอกของนิสิต เพื่อพัฒนานิสิตให้จัด กระบวนการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพตามกระบวนการวงจรคุณภาพ (PDCA) คือ วางแผนการจัดกระบวนการเรียนการสอน (Plan) จัดกระบวนการเรียนการสอน (Do) ประเมินผล การจัดการเรียนการสอน (Check) และปรับปรุงหลังจากประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน (Act) ๒) การฝึกบทบาทอาจารย์ประจําชั้น ซึ่งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กําหนดให้ เป็นบทบาทสำคัญที่นิสิตจะต้องฝึกการเป็นอาจารย์ประจำชั้น โดยมีอาจารย์นิเทศก์ ซึ่งเป็นอาจารย์ ประจําชั้นของห้องเรียนนั้นเป็นผู้ให้คำปรึกษา เพื่อให้นิสิตทำหน้าที่ความเป็นครูอย่างแท้จริง เช่น การ ดูแลนักเรียนเข้าแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์ และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี (ทุกวันศุกร์) นอกจากนี้ ในแต่ละวัน ช่วง ๔.๐๐-๔.๓๐ น. เป็นช่วงเวลาของกิจกรรมโฮมรูม เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างอาจารย์ประจำชั้นกับนักเรียน และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในตัว นักเรียน หรือที่เรียกว่า M L C R M = Morality หรือคุณธรรม L = Leadership หรือภาวะผู้นํา C = Critical Thinking and Creative Thinking หรือการคิดอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ R - Responsibility หรือความรับผิดชอบ ๓) การร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน นิสิตจะได้เรียนรู้การให้ คำปรึกษา การกำกับดูแลนักเรียน และสังเกตพฤติกรรม/ทักษะต่างๆ ของนักเรียนผ่านกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน กิจกรรมวันสำคัญ ทางศาสนา กิจกรรมของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ต่างๆ เช่น วันภาษาไทยแห่งชาติ สัปดาห์วิทยาศาสตร์ แห่งชาติ ดังนั้น โดยสรุปแล้วการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนานิสิตให้ “แข็งแกร่งทางวิชาการ เป็นอาจารย์ที่ดีมีคุณภาพควบคู่คุณธรรม” เพื่อพัฒนาสู่การเป็น “ครูมืออาชีพ” ตามแนวนโยบายการผลิตบัณฑิตของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ที่มีคุณภาพ สมดังคํากล่าวที่ว่า “ครูสร้างคน คนสร้างชาติ ครุศาสตร์สร้างครู”

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.35.3.2

First Page

13

Last Page

22

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.