•  
  •  
 

Journal of Social Sciences

Publication Date

2019-01-01

Abstract

บทความนี้มุ่งตั้งคำถามและท้าทายวาทกรรมความเป็นสากลของ "การบูรณาการประเด็นเพศภาวะเข้าสู่กระแสหลัก" (gender mainstreaming) อันเป็นการปฏิบัติและนโยบายที่สำคัญในการบรรลุความเท่าเทียมทางเพศภาวะขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) โดยใช้ทฤษฎี"ลัคนาภาวะ" หรือ "สภาวะทับซ้อน" (intersectionality) ในการบ่งชี้ว่า วาทกรรมดังกล่าวมิได้มีความเป็นสากล เนื่องด้วยปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ อันได้แก่ ประการแรก การให้ความสำคัญเพียงแค่ "เพศภาวะ" โดยลำพังอาจไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศภาวะในแต่ละสังคม เพราะเพศภาวะมิอาจแยกขาดจากคุณลักษณะทางสังคมอื่น ๆ ได้ประการที่สอง คุณลักษณะทางสังคมหรือหน่วยเชิงอัตลักษณ์ทางสังคมที่เรียกว่า "เพศภาวะ" ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของวาทกรรมดังกล่าวไร้ซึ่งเอกภาพ และประการที่สาม"เพศภาวะ" มิใช่คุณลักษณะทางสังคมที่มีความเป็นสากล ฉะนั้น "การบูรณาการประเด็นเพศภาวะเข้าสู่กระแสหลัก" จึงควรเปลี่ยนแปลงแนวทางเดิมไปสู่ "การบูรณาการประเด็นเพศภาวะที่ทับซ้อนเข้าสู่กระแสหลัก" (intersectional gender mainstreaming)

First Page

127

Last Page

150

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.