•  
  •  
 

Journal of Social Sciences

Publication Date

2018-01-01

Abstract

การเปรียบเทียบด้วยวิธี "ความแตกต่างมากที่สุดเพื่ออธิบายผลลัพธ์ร่วมกัน" จากประสบการณ์ของเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา ชิลี ตูนิเซีย ไนจีเรีย ยูเครน และโปแลนด์ พบว่าปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในช่วงคลื่นลูกที่ 3 คือ 1. การผนึกกำลัง และการประนีประนอมของพลังฝ่ายค้านที่ต้องการประชาธิปไตย 2. บทบาทของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ จริงใจต่อการวางรากฐานระบอบประชาธิปไตย 3. ความเห็นพ้องยอมรับทั้งเนื้อหาและกระบวนการร่าง/แก้ไขรัฐธรรมนูญ 4. กองทัพอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน 5. จัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วตามควร การศึกษาเปรียบเทียบเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่าความล้มเหลวในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยของไทย มีที่มาจากความแตกแยกและทะเลาะกันเองในฝ่ายที่สนับสนุนประชาธิปไตย ไม่ปรากฏช ัดว่าผู้นำทางการเมืองทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและชนชั้นนำในสังคมมีเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการวางรากฐานประชาธิปไตย ขาดฉันทามติในการปฏิรูปรัฐธรรมนูญการดำรงอยู่ของกองทัพเหนือรัฐบาลพลเรือน และการที่การเลือกตั้งของไทยยังไม่เป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือในการแก้วิฤตการเมืองและเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย

First Page

7

Last Page

29

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.