•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2014-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของเรซินโคดทิ้งต่อกําลังแรงยึดถึงระหว่างเรซินซีเมนต์และเนื้อฟัน วัสดุและวิธีการ ฟันกรามมนุษย์จํานวน 40 ซี่ ถูกตัดด้านบดเคี้ยวในแนวระนาบเพื่อเผยให้เห็นเนื้อฟันด้วย เครื่องตัดฟันความเร็วต่ํา จากนั้นขัดผิวเนื้อฟันด้วยกระดาษซิลิกอนคาร์ไบด์ความละเอียด 600 กริท แบ่งฟันเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) เนื้อฟันที่ไม่เคลือบด้วยเรซินโคดทิ้งแล้วยึดด้วยพานาเวียเอฟทู 2) เนื้อฟันที่เคลือบด้วยเรซินโคดทิ้ง แล้วยึดด้วยพานาเวียเอฟทู 3) เนื้อฟันที่ไม่เคลือบด้วยเรซินโคดทิ้งแล้วยึดด้วยซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี และ 4) เนื้อฟันที่เคลือบด้วยเรซินโคดทิ้งแล้วยึดด้วยซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี เก็บชิ้นงานทั้งหมดไว้ภายใต้ความชื้น สัมพัทธ์ร้อยละ 100 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง นําชิ้นงานมาเตรียมเป็นรูปมินิดัมเบลล์ (10 ชิ้นตัวอย่างต่อกลุ่มการทดสอบ) และทดสอบค่ากําลังแรงยึดดึงด้วยเครื่องทดสอบแรงแบบสากล ด้วยความเร็ว หัวจับ 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษา ค่ากําลังแรงยึดดึงของกลุ่มที่ 1 และ 2 มีค่าเท่ากับ 9.59 + 3.65 และ 5.54 + 2.07 เมกะปาสคาล ตามลําดับส่วนกลุ่ม 3 และ 4 มีค่าเท่ากับ 17.03 + 2.93 และ 8.81 + 3.85 เมกะปาสคาล ตามลําดับ วิเคราะห์ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวพบว่าค่ากําลังแรงยึดดึงของกลุ่มที่ 3 มีค่าสูงที่สุดและแตกต่างจากกลุ่มที่เหลืออีก 3 กลุ่มอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) และค่ากําลังแรงยึดดึง ของกลุ่มที่ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนค่ากําลังแรงยึดถึงระหว่างกลุ่มที่ 1 กับ กลุ่มที่ 4 และค่ากําลังแรงยึดถึงระหว่างกลุ่มที่ 2 กับกลุ่มที่ 4 แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (p > 0.05) ความล้มเหลวของชิ้นทดสอบ พบว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 3 เกิดระหว่างชั้นยึดโดยมีเรซินซีเมนต์ หลงเหลือบนเนื้อฟัน ขณะที่ร้อยละ 60 ของกลุ่มที่ 2 และร้อยละ 70 ของกลุ่มที่ 4 เกิดระหว่างชั้นเรซินโคดทิ้งกับ เรซินซีเมนต์โดยมีเรซินซีเมนต์เหลือบนชั้นเรซินโคดทิง สรุป ค่ากําลังแรงยึดดึงของเนื้อฟันกับเรซินซีเมนต์ซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี และพานาเวียเอฟทูมีค่าสูงกว่ากลุ่ม เนื้อฟันที่ผ่านการเคลือบด้วยเรซินโคดทิ้งแล้วยึดด้วยเรซินซีเมนต์ทั้งสองชนิด (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:25-38)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.37.1.3

First Page

25

Last Page

38

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.