•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2012-05-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระต่อความแข็งแรงพันธะของสารยึดติดระบบเซลฟ์เอทซ์ 2 ขั้นตอน (เคลียร์ฟิล เอสอี บอนด์) กับเนื้อฟันบริเวณผนังโพรงเนื้อเยื่อในภายหลังการฟอกสีด้วยไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์ความเข้มข้นสูง (โอพัลเลสเซนส์ บูชท์) วัสดุและวิธีการ ใช้ฟันกรามน้อยบนสภาพสมบูรณ์ ไม่มีรอยโรค และไม่เคยได้รับการบูรณะใด ๆ มาก่อน โดยตัด รากฟันออกและแบ่งครึ่งส่วนตัวฟันในแนวด้านแก้ม-ด้านลิ้น ใช้หัวกรอกากเพชรทรงสอบกรอผนังโพรงเนื้อเยื่อใน เพื่อลอกเลียนขั้นตอนการเปิดทางเข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในในการรักษาคลองราก จากนั้นแบ่งชิ้นฟันทั้งหมดเป็น 4 กลุ่ม ทดลองได้แก่ (1) กลุ่มควบคุมซึ่งไม่ทําการฟอกสี (2) กลุ่มที่ทําการฟอกสีด้วยโอพัลเลสเซนส์ บูชท์ (3) กลุ่มที่ใช้ สารละลายโซเดียมแอสคอร์เบทภายหลังการฟอกสีฟัน และ (4) กลุ่มที่ใช้สารละลายคะตะเลสภายหลังการฟอกสีฟัน บูรณะวัสดุเรซินคอมโพสิตบนผิวเนื้อฟันด้วยสารยึดติดผลิตภัณฑ์เคลียร์ฟิล เอสอี บอนด์ เก็บชิ้นงานไว้ภายใต้ ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 100 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนนํามาทดสอบความแข็งแรง พันธะเฉือนระดับจุลภาคของสารยึดติดกับเนื้อฟัน ตรวจสอบลักษณะพื้นผิวของชิ้นงานภายหลังการแตกหักด้วยกล้องถ่ายภาพในช่องปากร่วมกับโปรแกรมแสดงภาพผ่านระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งตรวจสอบลักษณะผิวเนื้อฟันของกลุ่มทดลองต่าง ๆ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด ผลการศึกษา จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่ากลุ่มที่ไม่ได้ทําการฟอกสีมีค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนกับเนื้อฟัน สูงที่สุด (p < 0.001) รองลงมาเป็นกลุ่มที่ใช้สารละลายโซเดียมแอสคอร์เบท และกลุ่มที่ใช้สารละลายคะตะเลส ภายหลังการฟอกสีฟัน (p < 0.001 และ p < 0.007 ตามลําดับ) ส่วนกลุ่มที่ทําการฟอกสีฟันและบูรณะด้วยเรซิน คอมโพสิตทันที มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงพันธะเฉือนน้อยกว่ากลุ่มทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสําคัญ (p < 0.0035) ซึ่งส่วนใหญ่พบการแตกหักของชิ้นงานภายในชั้นสารยึดติดหรือเรซินคอมโพสิต นอกจากนี้ในกลุ่มทดลองดังกล่าว ยังพบการหลุดของเรซินคอมโพสิตจากชิ้นงานก่อนการทดสอบถึงร้อยละ 40 การตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดพบว่าชั้นสเมียร์และสเมียร์พลัคของทุกกลุ่มทดลองที่ผ่านการปรับสภาพด้วยไพรเมอร์ ของสารยึดติดผลิตภัณฑ์เคลียร์ฟิล เอสอี บอนด์นั้นถูกละลายออกไปเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งพบการเผยของเส้นใย คอลลาเจนได้อย่างชัดเจน สรุป สารละลายโซเดียมแอสคอร์เบทและสารละลายคะตะเลสสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการยึดของสารยึดติด ผลิตภัณฑ์เคลียร์ฟิล เอสอี บอนด์กับเนื้อฟันที่ผนังโพรงเนื้อเยื่อในภายหลังการฟอกสีด้วยโอพัลเลสเซนส์ บูชท์ได้ แต่ไม่เท่ากับกรณีเนื้อฟันที่ไม่ได้ทําการฟอกสี โดยสารละลายโซเดียมแอสคอร์เบทให้ผลที่ดีกว่าสารละลายคะตะเลสอย่างมีนัยสําคัญ (ว ทันต จุฬาฯ 2555;35:79-92)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.35.2.1

First Page

79

Last Page

92

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.