•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2010-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยที่มีบิสมัยออกไซด์เมื่อผสมกับแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลส เปรียบเทียบกับ พอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่มีบิสมัยออกไซด์ผสมด้วยน้ํากลั่น และไวท์โปรรูทเอ็มทีเอผสมด้วยน้ํากลั่น วัสดุและวิธีการ เตรียมพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยจากสองบริษัทที่มีบิสมัทออกไซด์ผสมด้วย น้ํากลั่นหรือของเหลวที่มีสารเร่งการแข็งตัว (สารละลายที่มีร้อยละ 5 ของแคลเซียมคลอไรด์ และร้อยละ 1 ของ เมททิลเซลลูโลส) และไวท์โปรรูทเอ็มทีเอผสมด้วยน้ํากลั่น กลุ่มละ 10 ตัวอย่าง ตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมี ของซีเมนต์ที่แข็งตัวแล้วด้วยการวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราด วัดความเป็นกรดด่าง ระยะเวลาแข็งตัว ความทึบรังสี ความทนแรงอัด และสภาพละลายได้ วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยสถิติความแปรปรวนแบบทางเดียว (p < 0.05) ผลการศึกษา ไวท์โปรรูทเอ็มทีเอผสมด้วยน้ํากลั่นและพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่มีบิสมัยออกไซด์ผสมด้วยน้ํากลั่นหรือผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสมีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายคลึงกัน ยกเว้นไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ จะมีผลึกละเอียด โดยไม่พบอนุภาคขนาดใหญ่ และมีอนุภาคของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ปะปนอยู่เล็กน้อย ความเป็นกรดด่างของซีเมนต์ทุกชนิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรก ไวท์โปรรูทเอ็มทีเอจะมีความเป็นด่างสูงที่สุด(12.07) เมื่อซีเมนต์แข็งตัวเต็มที่ พอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสจะมีความเป็นด่างสูงกว่าพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ผสมด้วยน้ํากลั่นอย่างมีนัยสําคัญ ซีเมนต์ที่ผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมท ทิลเซลลูโลสจะมีเวลาการก่อตัวที่สั้นกว่า แต่มีความทนแรงอัดที่ 27 วันสูงกว่าซีเมนต์กลุ่มที่ผสมน้ํากลั่นอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ ซีเมนต์ที่ผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสมีสภาพละลายได้มากกว่าไวท์โปรรูท เอ็มทีเอในวันแรกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่เมื่อผ่านไป 21 วัน ซีเมนต์ทั้ง 5 กลุ่มมีสภาพละลายได้ไม่แตกต่างกัน สรุป พอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวที่ผลิตในประเทศไทยที่มีบิสมัยออกไซด์เมื่อผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสจะมีระยะเวลาการแข็งตัวที่น้อยกว่า แต่มีความทนแรงอัดสูงกว่าไวท์โปรรูทเอ็มทีเอซีเมนต์ที่ผสมด้วยน้ํากลั่น มีสภาพละลายได้ที่ 21 วัน และความทึบรังสีไม่แตกต่างจากไวท์โปรรูทเอ็มทีเอ มีความเป็นด่างต่ํากว่าไวท์โปรรู เอ็มทีเอเล็กน้อย ซึ่งคุณสมบัติทางกายภาพโดยรวมของพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ผสมด้วยแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลสมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเพื่อนํามาใช้แทนไวท์โปรรูทเอ็มทีเอได้ในอนาคต ( ทันต จุฬาฯ 2553;33:207-20)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.33.3.6

First Page

207

Last Page

220

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.