•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2007-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์เจลจากเปลือกทุเรียนต่อเชื้อสเตร็ปโต ค็อกคัสมิวแทนส์ และเชื้อแอกกรีเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ ซึ่งมีส่วนในการก่อโรคฟันผุ และโรค ปริทันต์อักเสบ ตามลําดับ วัสดุและวิธีการ ทําการศึกษาโดยการเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ สายพันธุ์ ATCC 25175 และเชื้อแอกกรีเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ สายพันธุ์ ATCC 43718 ในอาหารเลี้ยงเชื้อ ชนิดน้ําที่มีสารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์เจลจากเปลือกทุเรียน ความเข้มข้นต่าง ๆ (50 100 และ 150 มก./มล.) เป็น เวลา 1 5 10 20 30 และ 60 นาที นําไปเลี้ยงต่อในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดวุ้นเป็นเวลา 48 ชั่วโมง แล้วจึงนับจํานวน เชื้อแบคทีเรียที่มีชีวิต เปรียบเทียบกับคลอร์เฮกซิตีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 และอาหารเลี้ยงเชื้อที่ไม่ใส่สารสกัด ผลการศึกษา ในเวลา 1 นาที สารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์จากเปลือกทุเรียนที่ความเข้มข้น 150 มก./มล. และ คลอร์เฮกซิดีนที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ และเชื้อแอกกรีเกทแบกเทอร์ แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ ในขณะที่สารสกัดที่ความเข้มข้น 100 มก./มล. มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์และยับยั้งเชื้อแอกกริเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ ตามลําดับ ส่วนสารสกัดที่ความเข้มข้น 50 มก./มล. มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งสองชนิด ในเวลา 60 นาที สรุป ในเวลา 1 นาที สารสกัดพอลิแซ็กคาไรด์เจลจากเปลือกทุเรียนที่ความเข้มข้น 100 และ 150 มก./มล. สามารถฆ่าเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัสมิวแทนส์ และเชื้อแอกกรีเกทแบกเทอร์แอกทิโนไมซีเทมคอมแทนส์ ตามลําดับแสดงให้เห็นว่าสารสกัดชนิดนี้อาจพัฒนาเป็นสารออกฤทธิ์หลักในผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรมเพื่อควบคุมโรคฟันผุและโรคปริทันต์อักเสบ (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:235-44)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.30.3.2

First Page

235

Last Page

244

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.