•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

2007-05-01

Abstract

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการสึกของฟันเทียมอะคริลิกภายหลังการแปรงร่วมกับ ยาสีฟันประเภทต่างๆ และเป็นแนวทางแนะนําผู้ป่วยในการยืดอายุการใช้งานฟันเทียมจากการทําความสะอาด ซี่ฟันเทียมนั้น วัสดุและวิธีการ นําฟันหน้าเทียมอะคริลิก จํานวน 30 แผง มาแบ่งเป็น 5 กลุ่มตามชนิดของยาสีฟันที่ใช้ขัด กลุ่มละ 6 แผงคือ กลุ่มที่ 1 ยาสีฟันควบคุมการเกิดคราบหินน้ําลาย กลุ่มที่ 2 ยาสีฟันลดคราบจุลินทรีย์ กลุ่มที่ 3 ยาสีฟันป้องกันฟันผุ กลุ่มที่ 4 ยาสีฟันทําให้ฟันขาว กลุ่มที่ 5 ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน นําแต่ละซี่ฟันเทียมไป ชั่งน้ําหนักก่อนแปรงด้วยเครื่องชั่งดิจิทัล จากนั้นยึดแต่ละซี่ฟันด้วยพลาสเตอร์หิน วัดความหยาบพื้นผิวก่อนแปรง ด้วยเครื่องโปรไฟโลมิเตอร์ แล้วจึงนําไปแปรงร่วมกับยาสีฟันในแต่ละกลุ่มด้วยเครื่องแปรงฟัน จํานวน 20,000 รอบ โดยแปรงครั้งละ 8 จนครบทุกซี่ จากนั้นนําฟันมาชั่งน้ําหนักและวัดความหยาบพื้นผิวหลังแปรง นําค่าเฉลี่ย ของผลต่างในแต่ละกลุ่มที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติด้วย ครูสคัล-วาลิส ผลการศึกษา การสึกของฟันเทียมอะคริลิกหลังจากแปรงร่วมกับยาสีฟันที่มีคุณสมบัติต่างกัน มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.05) และพบว่าซี่ฟันเทียมที่แปรงร่วมกับยาสีฟันที่ทําให้ฟันขาวมีการสึกของฟัน มากที่สุด (∆Wwh= 4.10 ± 0.27 mg, ∆Rawh = 0.261 ± 0.064 ไมโครเมตร) สรุป ซี่ฟันเทียมอะคริลิกเมื่อแปรงร่วมกับยาสีฟันที่มีผงขัดมากหรือผงขัดหยาบ เช่น ยาสีฟันทําให้ฟันขาวนั้นจะ ทําให้มีการสึกของฟันมากที่สุด ดังนั้นเพื่อลดการหายไปของน้ําหนักเฉลี่ยของซี่ฟันเทียมและความหยาบพื้นผิว ฟันควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาสีฟันดังกล่าวข้างต้นกับฟันอะคริลิกมากที่สุด (ว ทันต จุฬาฯ 2550;30:157-68)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.30.2.6

First Page

157

Last Page

168

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.