•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1999-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าเฉลี่ยมาตรฐานขององค์ประกอบรอยยิ้ม อันได้แก่ รูปแบบ ของรอยยิ้ม ความหมายของโค้งปลายฟันหน้าบนกับริมฝีปากล่าง ตําแหน่งของโค้งปลายฟันหน้าบนที่สัมผัสกับ ริมฝีปากล่าง และบริเวณโปร่งแสงของฟันหน้าบน วิธีการศึกษา ทําการศึกษาในประชากรกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกมาจากนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 3 ซึ่งมีอายุระหว่าง 19 ปี 22 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง จํานวน 100 คน โดยเลือกผู้ที่มี ฟันหน้าบนครบทุกซี่ ไม่มีช่องว่างระหว่างฟัน และมีการเรียงตัวของฟันอยู่ในแนวปกติ โดยให้กลุ่มประชากร ตัวอย่างยิ้มอย่างเต็มที่ภายใต้แสงไฟนีออนธรรมดาทีละคน ในขณะที่มีผู้สังเกตดูองค์ประกอบต่าง ๆ ของรอยยิ้ม และบันทึกผลของนิสิตแต่ละคน จากนั้นจึงนําข้อมูลมาคํานวณเป็นร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีสถิติชนิดไคสแควร์ ผลการศึกษาและสรุป จากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 49 ของกลุ่มตัวอย่างขณะยิ้มเต็มที่จะเห็นฟันหน้าบน เกือบทั้งซี่ และเห็นเหงือกสามเหลี่ยมระหว่างฟันด้วย ร้อยละ 59 มีส่วนโค้งปลายฟันหน้าบนขนานกับเส้นโค้ง ด้านในของริมฝีปากล่าง ร้อยละ 74 ปลายฟันหน้าบนจะไม่สัมผัสกับริมฝีปากล่าง และร้อยละ 77 มีบริเวณ โปร่งแสงของฟันหน้าบนอยู่ที่ปลายฟัน องค์ประกอบของรอยยิ้มที่ขึ้นกับเพศ ได้แก่ รูปแบบรอยยิ้ม และบริเวณ โปร่งแสงของฟันหน้าบน พบว่าเพศชายและหญิงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 ส่วนองค์ประกอบของรอยยิ้มที่ไม่ขึ้นกับเพศ ได้แก่ ความขนานและลักษณะการสัมผัสระหว่างโค้งปลายฟันหน้าบน และริมฝีปากล่าง พบว่าเพศชายและหญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.22.Special.7

First Page

115

Last Page

122

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.