•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1998-05-01

Abstract

There are varieties of dental implants and their surface coating materials. This review article describes titanium implant in which its surface is coated with titanium oxide by nature. Success rate in implant dentistry relates directly to the adhesion of bone cells to the implant surface. However, among factors that induce bioadhesion and osseointegration characteristic of the surface of the dental implant is the most important one. The characteristic of surface refers to surface cleaness without any contaminants and microorganisms with characterized by high surface free energy. Techniques in surface science consist of using Germanium prism in infrared ellipsometry, contact angle technique using various diagnostic liquids, analysis of film thickness via ellipsometry, scanning electron microscopy combined with EDX-ray for detection of elements of greater 11 atomic number, etc. Oxide layer coating is an important nature, ones must consider osseointegration as direct integration of bone cells to the oxide layer, not to the titanium metal structure. Conventional cleaning and sterilizing dental implant via autoclaving result in surface contaminant and low free surface energy at 20 dyne/cm. while radiofrequency glow discharge treatment (RFGDT) results in cleaner surface and raise up free surface energy to 50-70 dynes/cm.(วัสดุพื้นผิวของชิ้นรากเทียมมีได้หลายชนิด แต่ในรายงานนี้จะกล่าวถึงชิ้นรากเทียมที่ทําด้วยโลหะไททาเนียมบริสุทธิ์ ซึ่งโดยธรรมชาติจะมีชั้นออกไซด์ของโลหะไททาเนียมเคลือบที่ผิวชิ้นรากเทียม ความสําเร็จของงานทันตกรรมรากเทียมส่วนหนึ่งขึ้นกับการเกาะติดของเซลล์กระดูกกับผิวชิ้นรากเทียม ปัจจัยหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกาะติดของเซลล์กระดูกกับผิวชิ้นรากเทียม ได้แก่สมบัติจําเพาะที่พื้นผิวของชิ้นรากเทียมซึ่งหมายความถึง ความสะอาดและปราศจากเชื้อ และพลังงานพื้นผิวของชิ้นรากเทียม การตรวจสอบพลังงานที่พื้นผิวของวัตถุอาจทําได้โดยวิธีการหรือเทคนิคต่าง ๆ เช่น การใช้แท่งผลึก เจอมาเนียม การหาค่ามุมสัมผัสของหยดของเหลวบนผิวชิ้นรากเทียม เพื่อเปรียบเทียบพลังงานพื้นผิวของชิ้นรากเทียม เมื่อผ่านกระบวนการปรับสภาพพื้นผิวในแบบต่าง ๆ การใช้วิธี เอลิปโซเมตรีในการวิเคราะห์ความหนาของแผ่นฟิล์มที่เคลือบบนวัตถุ การใช้กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราด ร่วมกับการวิเคราะห์ส่วนประกอบของธาตุต่าง ๆ บนพื้นผิวส่วนบนสุดของวัตถุ โดยใช้วิธีดูการกระจายพลังงานของรังสีเอ็กซ์ เพื่อตรวจสอบสารต่าง ๆ ที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 11 ขึ้นไป วิธีนี้นํามาใช้ศึกษาแผ่นฟิล์มบาง ๆ ที่ปรากฏบนพื้นผิวโลหะซึ่งจะให้ข้อมูลมากกว่าการวิเคราะห์ด้วย กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องกราดเพียงอย่างเดียว เป็นต้น ด้วยเหตุที่โลหะมีคุณสมบัติที่มีการเกิดชั้นออกไซด์ที่พื้นผิวเป็นธรรมชาติที่สําคัญ ดังนั้นเมื่อพิจารณาการเกาะประสานของกระดูกกับชิ้นรากเทียมจะเป็นการเกาะประสานของกระดูกกับชั้นออกไซด์ของโลหะที่พื้นผิวไม่ใช่เนื้อโลหะบริสุทธิ์โดยตรงโลหะที่นิยมใช้ทําชิ้นรากเทียมในปัจจุบันได้แก่ ไททาเนียม ซึ่งจะให้คุณสมบัติหลายอย่างตามที่ต้องการ จากข้อมูล ที่รวบรวมมาพบว่า การทําความสะอาดและการทําให้ปราศจากเชื้อแบบเดิมด้วยวิธีอบไอน้ําภายใต้ความดันพบการปนเปื้อนบนผิววัตถุและพลังงานที่พื้นผิวยังอยู่ในระดับต่ำคือมีค่าประมาณ 20 ดายน์/ซม. แต่วิธีการใช้คลื่นความถี่วิทยุจะทําให้พื้นผิวสะอาดมากขึ้นและเพิ่มพลังงานที่พื้นผิวได้ถึง 50-70 ดายน์/ซม. ซึ่งผลของการเพิ่มพลังงานที่พื้นผิวให้มีค่าสูงขึ้นนั้นจะมีผลในการเหนี่ยวนําให้เซลล์กระดูกมาเกาะติดกับผิวชิ้นรากเทียมได้เร็วขึ้น)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.21.2.10

First Page

137

Last Page

144

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.