•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1996-05-01

Abstract

ควบคุมความขนาน ให้มีลักษณะเหมือนกัน คือความสูง 3 มิลลิเมตร หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน แบ่งฟันที่กรอแต่งแล้วออกเป็นสี่กลุ่ม โดยกลุ่ม A ใช้ Die-spacer ความหนา 2 ชั้นเพื่อให้เป็นที่อยู่ของซีเมนต์ กลุ่ม B กลุ่ม C และกลุ่ม D ใช้ Die- spacer ความหนา 4 ชั้น 6 ชั้น และ 8 ชั้นตามลําดับ ครอบฟันโลหะซึ่งทําจากโลหะผสมเงินกับเพลลาเดียมทั้ง 52 ชิ้น ถูกนํามายึดติดบนตัวฟันด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดแคปซูล ในแต่ละกลุ่มนําชิ้นตัวอย่าง 3 ชิ้น ไปหาค่าเฉลี่ยความหนาของซีเมนต์ และนําชิ้นตัวอย่างอีก 10 ชิ้น ไปวัดความแนบบริเวณขอบของครอบฟันก่อนและหลังยึดด้วยซีเมนต์ โดยใช้เครื่อง Digimatic indicator บันทึกค่าเฉลี่ยความแตกต่างของความสูงของครอบฟัน วัดแรงดึงสูงสุดที่ใช้ดึงครอบฟันออกจากตัวฟัน ด้วยเครื่อง Lloyd Universal Testing Machine ค่าเฉลี่ยความแตกต่างของความสูงของครอบฟัน (ไมโครเมตร) ของกลุ่ม A = 24.33±14.87, B = 17.89±8.10, C = 13.40±8.74 และ D = 10.80±7.06 แรงดึงสูงสุด (นิวตัน) ของกลุ่ม A = 404.87±80.03, B = 387.57±126.48, C = 360.79±75.64 และ D=452.11±103.77 แล้ววิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ ANOVA และ Duncan Test และได้ผลว่าแรงดึงสูงสุดของแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p<0.05 แต่ความแนบ บริเวณขอบของครอบฟันระหว่างกลุ่มที่ทา Die-spacer หนา 2 ชั้นกับหนา 8 ชั้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p<0.05 จึงสรุปได้ว่าความหนาของซีเมนต์ที่ได้จากการใช้ Die-spacer 2-8 ชั้นให้ค่าแรงยึดติดของครอบฟันไม่แตกต่างกัน ในขณะที่การเพิ่มความหนาของ Die-spacer ช่วยครอบฟันที่ยึดด้วยซีเมนต์ให้มี ความแนบสนิทกับตัวฟันมากขึ้น

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.19.2.10

First Page

81

Last Page

93

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.