•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1993-05-01

Abstract

It is widely accepted that dental caries is a multi-factorial disease, i.e. teeth, microflora and oral environment. And the important factors which affect oral environment are salivary properties. The purpose of this study was to compare glucose clearance and buffer capacity of saliva between low-caires group and high-caries group. The study was carried out in dental students of Chulalongkorn University, age 19-22 years. Equal number of the sample in low and high caries groups were administered by purposive accidental sampling. The low-caries group (DMFT<3) was comprised of 6 female and 4 male while the high-caries group (DMFT < 8) was comprised of 8 female and 2 male. Salivary samples were titrated with 0.05 N HCl to measure buffer capacity, and salivary glucose clearance was studied by measuring the concentration of glucose in the salivary samples at 1,3, 5, 7, 9 and 11 minutes after holding 50% glucose solution in their mouths for 2 minutes. T- test were calculated to determine the differences in glucose clearance and buffer capacity of saliva. The results showed that, the mean volume of HCl that was used to titrate salivary samples to pH 5 were 0.860 ml in low-caries group and 0.704 ml in high-caries group, the difference was statistically significant (p < 0.05). For glucose clearance , although the differences of mean glucose concentration between low-caries groups and high-caries group at 3, 5, 7 minutes were significant (p < 0.05), but the differences at 9 and 11 minutes were not. (โรคฟันผุเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน ได้แก่ ฟัน จุลินทรีย์ และสภาพแวดล้อมภายในช่องปากที่เหมาะสม ซึ่งคุณสมบัติของน้ำลายก็เป็นปัจจัยสําคัญประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมภายในช่องปาก ดังนั้นงาน วิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติการกำจัดน้ำตาลกูลโคส (glucose clearance) และคุณสมบัติ ความเป็นบัฟเฟอร์ของน้ําลาย (buffer capacity) ระหว่างกลุ่มที่มีฟังผุน้อย (low-caries group) และกลุ่มที่ มีฟันผุมาก (high-caries group) โดยสุ่มตัวอย่างแบบความบังเอิญตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ (purposive accidental sampling) จากนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 19-22 ปี จํานวน 20 คน (หญิง 14 คน, ชาย 6 คน) แบ่งกลุ่มตามค่าดัชนีซี่ฟันผุถอนอุด (DMFT) ออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มที่ มีฟันผุน้อย (DMFT <3) จำนวน 10 คน (หญิง 6 คน, ชาย 4 คน) และกลุ่มที่มีฟันผุมาก (DMFT > 8) จำนวน 10 คน (หญิง 8 คน, ชาย 2 คน) ทำการศึกษาคุณสมบัติความเป็นบัฟเฟอร์ของน้ำลาย โดยไทเทรตตัวอย่างน้ำลายด้วยกรดไฮโดรคลอริก 0.05 นอร์มัล (normal, N) และศึกษาการกำจัดน้ำตาลกลูโคสของน้ำลายโดยวัดความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคส ในตัวอย่างน้ำลายที่เวลา 1, 3, 5, 7, 9 และ 11 นาทีหลังจากอมสารละลายกลูโคส 50% นาน 2 นาที นําข้อมูล มาวิเคราะห์ทางสถิติหาความแตกต่างของคุณสมบัติความเป็นบัฟเฟอร์และการกำจัดน้ำตาลกลูโคสของน้ำลาย ด้วยการทดสอบค่าที (T-test) ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณเฉลี่ยของกรดไฮโดรคลอริกที่ใช้ไทเทรตตัวอย่างน้ำลายจนมีสภาพ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 5 ในกลุ่มที่มีฟันผุน้อยเท่ากับ 0.860 มล. และในกลุ่มที่มีฟันผุมากเท่ากับ 0.704 มล. โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) สําหรับการศึกษาการกำจัดน้ำตาลกลูโคส ของน้ำลายพบว่าค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของน้ำตาลกลูโคสในตัวอย่างน้ำลายของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองมีควา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ที่เวลา 3, 5 และ 7 นาที ในขณะที่เวลา 9 และ 11 นาที มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย และไม่พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ)

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.16.2.2

First Page

101

Last Page

110

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.