•  
  •  
 

Chulalongkorn University Dental Journal

Publication Date

1989-01-01

Abstract

การศึกษาเกี่ยวกับระยะของการอ้าปากกว้างมากที่สุด ในนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 3 อายุระหว่าง 18-26 ปี (เฉลี่ย 20.5 ปี) จำนวน 71 คน แบ่งเป็นชาย 26 คน หญิง 45 คน เพื่อ (1) เปรียบเทียบการวัดค่าระยะของการอ้าปากกว้างมากที่สุด โดยวิธีวัดจุดที่ทำขึ้นที่ปลายคาง และวิธีวัดโดยตรงจาก ขอบปลายฟันตัดซี่กลางบนและล่าง (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอ้าปากกว้างมากที่สุด และ (3) ศึกษาการเบี่ยงเบน ของกระดูกขากรรไกรล่างในการอ้าปากกว้างมากที่สุด พบว่า ค่าเฉลี่ยของระยะของการอ้าปากกว้างมากที่สุด จากการหาโดยวิธีแรก มีค่าเท่ากับ 43.07 ± 6.98 มม. (48.03 ± 6.97 มม. ในเพศชาย และ 40.20 ± 5.20 มม. ในเพศหญิง) ค่าเฉลี่ยฯ ที่หาโดยวิธีวัดโดยตรงวิธีที่สอง มีค่าเท่ากับ 48.79 ± 6.60 มม. (53.58 ± 4.98 มม. ในเพศชาย และ 46.02 ± 5.82 มม. ในเพศหญิง) จาก การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับการอ้าปากกว้างมากที่สุด พบว่า ปัจจัยที่น่าจะมีผลต่อระยะของการ อ้าปากกว้างมากที่สุดได้แก่ เพศ ส่วนสูง น้ําหนัก ระยะในแนวดิ่งระหว่างจุดสูงสุดของกะโหลกศีรษะถึงจุดต่ำสุด ของคาง ระยะระหว่างคอนไดล์ถึงมุมของขากรรไกรล่าง และระยะระหว่างแนวแกนหมุนของข้อต่อกระดูกขากรรไกร ถึงอินไซซัล พอยท์ และพบว่าการเบี่ยงเบนของกระดูกขากรรไกรล่างในการอ้าปากมากที่สุดมีค่าอยู่ในช่วงเบี่ยงเบน ไปทางซ้าย 7 มม. ถึงเบี่ยงเบนไปทางขวา 2 มม. โดยที่ผู้ที่นำมาศึกษาส่วนใหญ่มีการเบี่ยงเบนไปทางซ้าย

DOI

10.58837/CHULA.CUDJ.12.1-3.4

First Page

19

Last Page

27

Included in

Dentistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.